วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

หนังสือเสียง: DAISY เบิกบานทั้งในใจผู้ให้และผู้รับ


หนังสือเสียง ตามความเข้าใจในปัจจุบัน มักแสดงในรูปแบบซีดี ระบบ DAISY มีคุณลักษณะเหมือนหนังสือ แต่อยู่ในรูปของ แผ่นซีดี ได้รับความนิยม เพราะสามารถใส่ดรรชนีไว้ในเนื้อหาส่วนต่างๆได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็นในการใช้งาน ส่งผลให้ผู้ฟังค้นหาและเลือกฟังเนื้อหาส่วนต่างๆที่อาจอ่านค้างไว้ เช่น หน้า ย่อหน้า หรือ ที่คั่นหน้าของหนังสือเสียงได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีซอฟท์แวร์ที่ใช้เปิดอ่าน เช่น TAB Player TPB reader เป็นต้น หรือ ใช้กับเครื่องอ่านผ่านซีดีระบบเดซี โดยเฉพาะ ซึ่งสามารถพกพาไปได้ เช่น Plextalk( สหรัฐอเมริกา) VICTOR(แคนาดา) เป็นต้น (ปัจจุบัน เครื่องอ่านเดซียังไม่มีจำหน่ายแพร่หลาย แต่อาจสั่งซื้อได้จากสหกรณ์สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย) แต่ DAISY เป็นสื่อมัลติมีเดียมาตรฐาน ที่สามารถนำเทคโนโลยีมาแสดงภาพ ข้อความ เสียงบรรยาย การค้นหาข้อมูลที่ต้องการ รวมทั้งการแนบไฟล์วิดีโอ หรือ ภาพแอนนิเมชั่น ในอนาคต ผู้ใช้สามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการทั้งในแนวตั้งและแนวระนาบ ซึ่งแตกต่างจากเทปเสียงที่สามารถค้นหาได้ตามแนวระนาบอย่างเดียว
มาตรฐาน DAISY เป็นแอพพลิเคชั่นของ XHTML, XML, และสื่อมัลติมีเดีย (SMIL) โดยใช้ XML
หนังสือเสียงเดซีจัดอยู่ในกลุ่มของเอกสารเสียง (DTB : Digital Talking Book) ซึ่งมีหลายลักษณะ ได้แก่
1.หนังสือเสียงที่มีเฉพาะหัวข้อเรื่อง (Full audio with Title element only) เป็นหนังสือเสียงที่ไม่มีโครงสร้างการค้นหา มีเฉพาะชื่อเรื่องเท่านั้นที่เป็นข้อความ เนื้อหาเอกสารจะมีลักษณะเป็น Linear audio เท่านั้น ไม่สามารถค้นหาเนื้อหาในเฉพาะส่วนที่ต้องการด้วย
2.หนังสือเสียงที่มีโครงสร้างการค้นหา (NCC or NCX only) เป็นหนังสือเสียงที่มีโครงสร้างสำหรับการค้นหา โดยโครงสร้างมีลักษณะ 2 มิติ ประกอบด้วยลำดับ (Sequential) และการค้นหาตามลำดับชั้น (hierarchical) หนังสือบางรายการสามารถค้นหาตามหน้าเอกสารได้ (หมายเหตุ-ตัวอย่างเอกสารเสียงลักษณะนี้สามารถดูตัวอย่างได้ที่มูลนิธิราชสุดา สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ทัณฑสถานหญิงกลางคลองเปรม )
3.หนังสือเสียงที่มีโครงสร้างการค้นหาและมีข้อความบางส่วน (Full audio with Navigation Center and Partial Text) เป็นหนังสือเสียงที่มีโครงสร้างเช่นเดียวกับข้อ 2 โดยกำหนดดรรชนี (Index) และคำค้น (Keyword) ข้อความที่บรรจุไว้จะแสดง ก็ต่อเมื่อกำหนดคำค้นหรือคำที่ตรงกันไปปรากฎในเอกสาร เช่น ดรรชนี ปทานุกรมศัพท์ อ้างอิง เป็นต้น เสียงและข้อความที่ปรากฎจะต้องสอดคล้องกัน (Synchronized) (หรือประสานเวลาเดียวกัน)
4.หนังสือเสียงและข้อความเต็มรูป (Full audio and Full text) เป็นหนังสือเสียงที่มีโครงสร้าง มีข้อความและข้อมูลเสียงเต็มรูปข้อความและเสียงสอดคล้องกัน หนังสือ รูปแบบนี้สามารถแปลงเป็นอักษรเบลล์ได้
5.หนังสือข้อความเต็มรูปและเสียงบางส่วน (Full text and some audio) เป็นหนังสือ DTB ที่มีโครงสร้าง ข้อความเต็มรูป และมีข้อมูลเสียงในบางส่วนที่จำเป็น DTB ลักษณะนี้อาจจะใช้เป็นพจนานุกรมเพื่อให้ข้อมูล เช่นการออกเสียง สะกดคำ ซึ่งจะเป็นข้อความเสียง รูปแบบนี้ก็จะต้องมีการ Link ข้อความเสียงและข้อความเช่นกัน
6.หนังสือเต็มรูปไม่มีเสียง (Text and no audio) เป็นหนังสือ DTB ที่มีโครงสร้างการค้นหาเหมือน NCC และการกำหนดส่วนที่จำเป็น (Mark up) เป็น e-text ที่ไม่มี audio หนังสือนี้สามารถใช้ในการผลิต Braille

ข้อดีของหนังสือเสียง Daisy DTBS
Daisy จะมีประโยชน์ที่สำคัญ ดังนี้
1.การสืบค้น (Global and local navigation)
ผู้ใช้งานสามารถสืบค้นข้อมูลทั้งจากภายในตัวเอกสาร ณ จุดที่ต้องการอ่าน หรือจากภายนอกเอกสาร เพื่อค้นหาเนื้อหาส่วนที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว
2. การบูรณาการสื่อมัลติมีเดีย
ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อความและรูปภาพในหนังสือในขณะที่กำลังฟังเสียงบรรยาย ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากเทปเสียง หรือ สื่อสิ่งพิมพ์แบบเดิม (อักษรเบลล์)
3.ทางเลือกในการเลือกใช้สื่อเอกสารเสียงเดซีสามารถใช้งานกับเครื่องเล่นหลายชนิด (Play Back) รวมทั้งสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ ผ่านซอฟแวร์หลายชนิด และเครื่องเล่นบางชนิดสามารถนำติดตัวผู้ใช้งานไปได้ทุกหนแห่ง

อ่านอย่างไรให้จำได้

การจำในทีนี้ ไม่ได้หมายความถึงการจำโดยการท่องจำแบบนกแก้วนกขุนทอง แต่ขอเน้นการจำในลักษณะ ของความเข้าใจ หรือการจำอย่างมีความหมาย จำอย่างมีความคิดความเข้าใจในเนื้อหาที่ได้เรียนจากเอกสารการสอน
การอ่านเอกสารการสอนให้จำได้สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
1. อ่านส่วนนำของเนื้อหา
การอ่านส่วนนำของเนื้อหา จะทำให้ผู้อ่านมองเห็นภาพรวมของเนื้อหา ความสัมพันธ์ของเนื้อหา รวมทั้งเป้าหมายของเนื้อหาทีจะเรียน ซึ่งในเอกสารการสอน ได้มีส่วนนำของเนื้อหาอยูแล้ว คือ แผนการสอนประจำหน่วยและแผนการสอนประจำตอน นั่นเอง การอ่านทำความเข้าใจและสามารถจำแนวคิดได้ จะช่วยให้จำหัวเรื่องหลัก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเนื้อหาทีจะนำไปสูเนื้อหาย่อยของแต่ละหัวข้อ
2. จัดระบบของเนื้อหา
เมื่อถึงส่วนของเนื้อหา ขณะอ่าน พยายามจัดระบบของเนื้อหา เช่น จัดกลุ่ม หรือ เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหัวข้อและเนื้อหา การเปรียบเทียบเนื้อหา เป็นต้น จะทำให้มองเห็นกลุ่มก้อน ความเชื่อมโยง ความเหมือนหรือความแตกต่างของเนื้อหา ซึ่งจะช่วยให้จำได้ง่ายขึ้น ในทางปฏิบัตินักศึกษาควรอ่านเป็นส่วนๆที่ละเรื่องโดยอ่าน 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านคร่าวๆ เพื่อจับประเด็นของเนื้อหาให้ได้ก่อนว่า มีใจความสำคัญอะไร รอบทีสองเป็นการอ่านเพื่อขจัดระบบของเนื้อหา
3. เชื่อมโยงความรู้เดิม
ขณะอ่านหากนักศึกษาได้มีการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้หรือประสบการณ์เดิม จะช่วยทำให้จำเนื้อหาความรู้ใหม่ได้ดี ซึ่งอย่างน้อยทีสุด ความรูเดิมที่เพิ่งจำได้ก็คือ แนวคิดและวัตถุประสงค์ในแผนการสอนที่ผูเขียนแนะนำให้จดจำไว้ในข้อที่ 1 ซึ่งเมื่ออ่านเนื้อหาแล้วจะช่วยเชื่อมโยงรายละเอียดเข้ากับหัวข้อนั่นเอง หรือนักศึกษาอาจเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรูเดิมในเรื่องอื่นๆ หรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องโดยการนึกย้อนทบทวนถึงความรู้เดิมที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาคิดวิเคราะห์กับสิ่งใหม่ จะช่วยให้เห็นว่าข้อความใหม่คืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกับความรูเดิมอย่างไร
4. จดบันทึก
การจดบันทึก เป็นการถ่ายทอดความคิดให้เห็นเป็นรูปธรรม เมื่อนักศึกษาได้ทำความเข้าใจในข้อความรู้ หรือ สามารถจัดโครงสร้างหมวดหมูของเนื้อหาแล้ว นักศึกษาควรจดบันทึกลงในสมุดจะช่วยให้จำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้นในทางปฏิบัติ นักศึกษาสามารถจดบันทึกสาระสำคัญในแบบฝึกปฏิบัติโดยบันทึกตามความเข้าใจและถ้อยคำภาษาของตนเอง หรืออาจเขียนแผนภูมิโครงสร้างของเนื้อหาตามความเข้าใจของตนเองจะเป็นการช่วยทวนซ้ำและระลึกข้อความรู้ในขณะจดบันทึก จะช่วยให้จำได้ดี ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการ "ลอก" เนื้อหาจากเอกสารการสอนเพราะจะไม่ช่วยให้จำในขณะอ่านเท่าใดนัก
5. อ่านส่วนสรุป
ในบางส่วนของเอกสารการสอนอาจมีส่วนที่สรุปเนื้อหาที่ได้กล่าวไปแล้ว การอ่านส่วนสรุปจะเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้จดจำเนื้อหาได้ดีขึ้น นอกจากนี้ หลังจากที่ได้ทำแบบฝึกปฏิบัติแล้ว การอ่านแนวตอบกิจกรรม ยังเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสรุปเนื้อหาและช่วยจำอีกส่วนหนึ่ง
6. ทวนซ้ำขณะอ่าน
การทวนซ้ำ เป็นวิธีธรรมชาติของการจำที่บุคคลใช้กันมานาน ที่ยังมีผลต่อการจำ อย่างไรก็ตาม การทวนซ้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ขึ้นอยู ่กับปริมาณของเนื้อหาและจำนวนครั้งของการทวนซ้ำ หากปริมาณเนื้อหาไม่มากนัก จำนวนครั้งของการทวนจะน้อย ประกอบกับหากมีการเชื่อมโยงความรู้หรือจัดหมวดหมู่จะช่วยให้การทวนซ้ำมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
7. ทดสอบตนเอง
การทดสอบตนเองเป็นการฝึกในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เคยจดจำไปแล้ว เป็นการฝึกซ้อมกระบวนการในการดึงเอาข้อความรู้ออกมา เปรียบเสมือนกับการที่นักศึกษาเก็บข้อมูลไว้ในแฟ้มในตู้ลิ้นชักที่จัดไว้เป็นระบบ เป็นการเก็บจำ การทดสอบโดยการระลึกความจำเป็นการวิ่งกลับไปเปิดลิ้นชักเพื่อค้นหาแฟ้มและเปิดดูข้อมูล หากจัดระบบดี การเรียกข้อมูลก็จะรวดเร็วและถูกต้อง ในการทดสอบตนเอง หากระลึกได้ช้า หรือไม่ถูกต้อง อาจเกิดจากการเก็บจำไม่ดี ข้อความรู้อาจจัดไม่เป็นระบบ หรือจำในปริมาณทีมากเกินไป ซึ่งสามารถกลับไปทบทวนความจำนั้นใหม่ หรือจัดระบบการจำเนื้อหาใหม่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
8. หลีกเลี่ยงสิ่งรบกวน
การอ่านเอกสารการสอนหลายชุดวิชาในเวลาติดๆ กัน หรืออ่านในขณะทีสมองเพิ่งจดจำสิ่งอื่นๆ ในชีวิตประจำวันอาจมีผลในการรบกวนทั้งย้อนระงับและตามระงับ ซึ่งเป็นผลต่อการรบกวนความจำ ดังนั้น นักศึกษาอาจพิจารณาเลือกเวลาเรียนที่ปลอดโปร่งจากการรบกวนในความคิด เช่น ช่วงเวลาก่อนนอนหลังจากที่อาบน้ำและพักผ่อนมาพอสมควร หรือช่วงเช้าหลังตื่นนอน ซึ่งเป็นเวลาที่ดีที่สุด โดยอาจอ่านวันละชุดวิชาในตอนค่ำแล้วทบทวนอีกเล็กน้อยในตอนเช้า มาถึงตอนนี้แล้ว นักศึกษาจะพอทราบแนวทางในการอ่านเอกสารการสอนให้จำได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ควรลืมว่าการอ่านเอกสารการสอนให้เกิดการเรียนรู้และจำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังต้องอาศัยระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควร จึงควรตระหนักว่า การศึกษาเอกสารการสอนอย่างต่อเนื่องตลอดภาคการศึกษาเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ เพราะจะเป็นการช่วยให้กระบวนการเก็บจำดำเนินไปอย่างมีระบบอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทีละน้อย ทีละส่วนของเนื้อหา ส่งผลให้เก็บจำได้มาก และยาวนาน และสามารถเรียกความรู้ที่ได้เก็บจำไปแล้วออกมาใช้ หรือตอบคำถามได้อย่างมีประสิทธิภาพ